มันเทศ

 

                                    

1) การเลือกพื้นที่ปลูกมันเทศไม่ควรเป็นพื้นที่เคยปลูกมันเทศติดต่อกันมานาน หลายปี เพราะจะมีการสะสมของด้วงงวงมันเทศ และแมลงศัตรูอื่นอยู่มากในแปลง แมลงเหล่านี้จะเข้าทำลายทำให้ผลผลิตมันเทศต่ำลง ทำให้ต้องใช้สารเคมีมากขึ้นในการป้องกันกำจัด ถ้าจำเป็นต้องใช้แปลงปลูกเดิมควรปลูกปลูกพืชสลับหมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่ว และที่ดังกล่าวไม่ควรมีน้ำขัง เพราะมันเทศถ้าได้น้ำมากเกิน จะเจริญทางยอดมากกว่าจะลงหัว

2) ควรไถดินยกร่องสูง 45-50 เซนติเมตร ร่องแปลงกว้าง 70-100 เซนติเมตร แปลงปลูกควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หว่านลงไปแล้วไถกลบ จะช่วยให้ดินร่วนซุย มันเทศจะลงหัวดีขึ้น

3) การเตรียมยอดพันธุ์มันเทศ ยอดมันเทศที่ตัดมาใหม่ ควรนำมาเก็บรวมไว้ที่ร่ม รดน้ำให้ความชื้น 1-2 วัน เมื่อเริ่มมีรากงอกตามข้อ แล้วจึงย้ายมันเทศลงปลูก จะได้ผลดีกว่าตัดยอดพันธุ์มาแล้วนำลงปลูกในแปลงทันที ในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ท่อนพันธุ์ 5,400 ยอด

4) ระยะปลูก ใช้ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร มันเทศจะลงหัวได้ดี ให้ผลผลิตสูงและหัวมีคุณภาพดีกว่าระยะปลูกอื่นๆ

5) ให้นำยอดพันธุ์มันเทศจำนวน แต่ละยอด ปลูกในแนวนอนขวางแปลงให้ส่วนข้ออยู่ใต้ดิน 4-6 ข้อ โดยให้ส่วนยอดพันธุ์ และโคนเถาโผล่พ้นดิน หรือเรียกว่าแบบโผล่หัวและท้าย

6) ปลูกไปแล้ว 10-15 วัน ควรตรวจดูแปลงปลูก ถ้ามันเทศที่ปลูกไม่แตกยอดหรือแห้งตายควรทำการปลูกซ่อมดีกว่าปล่อยให้หลุม ว่าง เป็นการเสียพื้นที่โดยเปล่าประโยชน์

7) การ ให้น้ำ ถ้าปลูกมันเทศในฤดูฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ถ้าปลูกในฤดูแล้ง ในระยะแรกของการปลูกมันเทศ 20-30 วัน แรกควรให้น้ำสม่ำเสมอจนกว่ามันเทศจะเลื้อยคลุมแปลง จากนั้นให้น้ำอีกเดือนละ 1-2 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ใช้ปลูกจำเป็นต้องให้น้ำมันเทศอยู่เสมอจะแสดง อาการเผือใบไม่ค่อยลงหัว

8 ) การใส่ปุ๋ย นอกจากใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตอนเตรียมดินในแปลงปลูกแล้ว การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เช่น ปุ๋ยยูเรีย ไม่ควรใส่ในแปลงมันเทศ เพราะมันเทศจะเจริญทางยอดมากกว่าทางรากมีการลงหัวน้อย ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีจะไม่ใส่ปุ๋ยก็ได้ ถ้าแปลงที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-13 อัตรา 50-80 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยรองก้นหลุมและใส่หลังปลูก45 วัน เป็นครั้งที่ 2 ไม่ควรหว่าน แต่ควรใช้ไม้ปลายแหลมเจาะดินหลังแปลงเป็นหลุม ระหว่างระยะปลูกมันเทศแต่ละต้นเป็นหลุมเล็กๆ แล้วหยอดปุ๋ย

9) การกำจัดวัชพืช มีการพ่นสารเคมีคลุมวัชพืชก่อนงอก หลังปลูกมันเทศได้ 1 วัน หรือจะใช้สารเคมีฆ่าวัชพืชโดยตรง ก่อนพ่นสารเคมีต้องกลบเถามันเทศขึ้นบนหลังแปลง และพ่นสารเคมีเฉพาะช่องว่างทางเดินระหว่างแถวเท่านั้น จะสะดวกและประหยัดแรงงานกว่าการดายหญ้า

10) การตลบเถามันเทศ ถ้าเป็นการปลูกมันเทศฤดูฝน ควรตลบเถาขึ้นบนหลังแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้เถามันเทศแตกรากใหม่ที่ข้อ จะเกิดเป็นหัวมันเทศเล็กๆ มีผลกระทบต่อหัวมันเทศที่อยู่โคนต้นจะลงหัวได้น้อยลง ควรตลบเถามันเทศทุกๆเดือน ถ้าเป็นการปลูกในฤดูหนาว หรือฤดูร้อนมีความชื้นน้อย ไม่ควรตลบเถามันเทศขึ้นหลังแปลง เพราะมันเทศจะชะงักการเจริญเติบโต แปลงมันเทศจะแห้งเร็ว และลงหัวน้อย

11) การเก็บเกี่ยว ขึ้นอยู่กับพันธุ์มันเทศ โดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 90-150 วัน หลังปลูก ถ้าไม่ทราบอายุการเก็บเกี่ยวที่แน่นอนของมันเทศที่นำมาปลูก ให้สังเกตดูที่ผิวดินบริเวณโคนต้น ถ้ารอยดินแตกแยก และมองเห็นหัวมันเทศ แสดงว่ามันเทศเริ่มแก่ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้

12) การเก็บรักษา มันเทศสามารถเก็บหัวไว้บริโภคได้ 1-2 เดือน

    

1) การเลือกพื้นที่ปลูกมันเทศไม่ควรเป็นพื้นที่เคยปลูกมันเทศติดต่อกันมานาน หลายปี เพราะจะมีการสะสมของด้วงงวงมันเทศ และแมลงศัตรูอื่นอยู่มากในแปลง แมลงเหล่านี้จะเข้าทำลายทำให้ผลผลิตมันเทศต่ำลง ทำให้ต้องใช้สารเคมีมากขึ้นในการป้องกันกำจัด ถ้าจำเป็นต้องใช้แปลงปลูกเดิมควรปลูกปลูกพืชสลับหมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่ว และที่ดังกล่าวไม่ควรมีน้ำขัง เพราะมันเทศถ้าได้น้ำมากเกิน จะเจริญทางยอดมากกว่าจะลงหัว

2) ควรไถดินยกร่องสูง 45-50 เซนติเมตร ร่องแปลงกว้าง 70-100 เซนติเมตร แปลงปลูกควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หว่านลงไปแล้วไถกลบ จะช่วยให้ดินร่วนซุย มันเทศจะลงหัวดีขึ้น

3) การเตรียมยอดพันธุ์มันเทศ ยอดมันเทศที่ตัดมาใหม่ ควรนำมาเก็บรวมไว้ที่ร่ม รดน้ำให้ความชื้น 1-2 วัน เมื่อเริ่มมีรากงอกตามข้อ แล้วจึงย้ายมันเทศลงปลูก จะได้ผลดีกว่าตัดยอดพันธุ์มาแล้วนำลงปลูกในแปลงทันที ในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ท่อนพันธุ์ 5,400 ยอด

4) ระยะปลูก ใช้ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร มันเทศจะลงหัวได้ดี ให้ผลผลิตสูงและหัวมีคุณภาพดีกว่าระยะปลูกอื่นๆ

5) ให้นำยอดพันธุ์มันเทศจำนวน แต่ละยอด ปลูกในแนวนอนขวางแปลงให้ส่วนข้ออยู่ใต้ดิน 4-6 ข้อ โดยให้ส่วนยอดพันธุ์ และโคนเถาโผล่พ้นดิน หรือเรียกว่าแบบโผล่หัวและท้าย

6) ปลูกไปแล้ว 10-15 วัน ควรตรวจดูแปลงปลูก ถ้ามันเทศที่ปลูกไม่แตกยอดหรือแห้งตายควรทำการปลูกซ่อมดีกว่าปล่อยให้หลุม ว่าง เป็นการเสียพื้นที่โดยเปล่าประโยชน์

7) การ ให้น้ำ ถ้าปลูกมันเทศในฤดูฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ถ้าปลูกในฤดูแล้ง ในระยะแรกของการปลูกมันเทศ 20-30 วัน แรกควรให้น้ำสม่ำเสมอจนกว่ามันเทศจะเลื้อยคลุมแปลง จากนั้นให้น้ำอีกเดือนละ 1-2 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ใช้ปลูกจำเป็นต้องให้น้ำมันเทศอยู่เสมอจะแสดง อาการเผือใบไม่ค่อยลงหัว

8 ) การใส่ปุ๋ย นอกจากใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตอนเตรียมดินในแปลงปลูกแล้ว การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เช่น ปุ๋ยยูเรีย ไม่ควรใส่ในแปลงมันเทศ เพราะมันเทศจะเจริญทางยอดมากกว่าทางรากมีการลงหัวน้อย ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีจะไม่ใส่ปุ๋ยก็ได้ ถ้าแปลงที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-13 อัตรา 50-80 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยรองก้นหลุมและใส่หลังปลูก45 วัน เป็นครั้งที่ 2 ไม่ควรหว่าน แต่ควรใช้ไม้ปลายแหลมเจาะดินหลังแปลงเป็นหลุม ระหว่างระยะปลูกมันเทศแต่ละต้นเป็นหลุมเล็กๆ แล้วหยอดปุ๋ย

9) การกำจัดวัชพืช มีการพ่นสารเคมีคลุมวัชพืชก่อนงอก หลังปลูกมันเทศได้ 1 วัน หรือจะใช้สารเคมีฆ่าวัชพืชโดยตรง ก่อนพ่นสารเคมีต้องกลบเถามันเทศขึ้นบนหลังแปลง และพ่นสารเคมีเฉพาะช่องว่างทางเดินระหว่างแถวเท่านั้น จะสะดวกและประหยัดแรงงานกว่าการดายหญ้า

10) การตลบเถามันเทศ ถ้าเป็นการปลูกมันเทศฤดูฝน ควรตลบเถาขึ้นบนหลังแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้เถามันเทศแตกรากใหม่ที่ข้อ จะเกิดเป็นหัวมันเทศเล็กๆ มีผลกระทบต่อหัวมันเทศที่อยู่โคนต้นจะลงหัวได้น้อยลง ควรตลบเถามันเทศทุกๆเดือน ถ้าเป็นการปลูกในฤดูหนาว หรือฤดูร้อนมีความชื้นน้อย ไม่ควรตลบเถามันเทศขึ้นหลังแปลง เพราะมันเทศจะชะงักการเจริญเติบโต แปลงมันเทศจะแห้งเร็ว และลงหัวน้อย

11) การเก็บเกี่ยว ขึ้นอยู่กับพันธุ์มันเทศ โดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 90-150 วัน หลังปลูก ถ้าไม่ทราบอายุการเก็บเกี่ยวที่แน่นอนของมันเทศที่นำมาปลูก ให้สังเกตดูที่ผิวดินบริเวณโคนต้น ถ้ารอยดินแตกแยก และมองเห็นหัวมันเทศ แสดงว่ามันเทศเริ่มแก่ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้

12) การเก็บรักษา มันเทศสามารถเก็บหัวไว้บริโภคได้ 1-2 เดือน