ข้อมูลพื้นฐาน จ.สุรินทร์

        จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครอบคลุม 13 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม ทิศใต้ติดกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดศรีสะเกษ และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ในส่วนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล ประกอบด้วย 8 ลุ่มน้ำสาขา

  1. ลำชี
  2. ลำน้ำมูลส่วนที่ 2
  3. ลำพลับพลา
  4. ลำพังชู
  5. ลำเสียวใหญ่
  6. ห้วยตะโคง
  7. ห้วยทับทัน
  8. ห้วยสำราญ


ปริมาณฝนและปริมาณน้ำท่า: ปริมาณฝนในจังหวัดสุรินทร์มีค่าเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 1,312 มม. โดยค่าปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน 1,157 มม. หรือคิดเป็นร้อยละ 88 ของทั้งหมด และมีค่าปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง 155 มม. หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของทั้งหมด1/ ส่วนปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปีเฉลี่ย สามารถสรุปเป็นลุ่มน้ำสาขาที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสุรินทร์ได้ดังนี้
ลุ่มน้ำสาขา ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี (ล้าน ลบ.ม.)
        ลำชี                  882.69   ล้าน ลบ.ม.
        ลำน้ำมูลส่วนที่  2 397.89   ล้าน ลบ.ม.
        ลำพลับพลา        161.93   ล้าน ลบ.ม.
        ลำพังชู              279.19   ล้าน ลบ.ม.
        ลำเสียวใหญ่        551.78   ล้าน ลบ.ม.
        ห้วยตะโคง          268.98   ล้าน ลบ.ม. 
        ห้วยทับทัน          841.09   ล้าน ลบ.ม.
        ห้วยสำราญ         876.67   ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปีเป็นค่าของทั้งลุ่มน้ำสาขาซึ่งมีพื้นที่นอกขอบเขตจังหวัดด้วย

ปริมาณน้ำบาดาล : น้ำที่สูบขึ้นมาใช้จากบ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้นในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสุรินทร์ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 74 ล้าน ลบ.ม./ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ของปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถพัฒนาได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล โดยไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีค่าประมาณ 97 ล้าน ลบ.ม./ปี ดังแสดงในรูปที่ 2.2-1 ทั้งนี้ การพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ไม่ควรพัฒนาจนใกล้เคียงกับศักยภาพ เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงในเชิงปริมาณและคุณภาพโดยเฉพาะเรื่องความเค็ม และอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของความเค็มด้วย

คุณภาพน้ำผิวดิน : คุณภาพน้ำในช่วงฤดูแล้งปี พ.ศ. 2548 จะพบว่า คุณภาพน้ำในแม่น้ำมูลมีแนวโน้มคุณภาพต่ำลง เมื่อมีระยะทางห่างจากปากแม่น้ำมากขึ้น ซึ่งบริเวณที่ผ่านจังหวัดสุรินทร์ จะมีแนวโน้มคุณภาพน้ำต่ำลงในพื้นที่ชุมชน โดยมีค่าเฉลี่ย DO ลดลง และมีค่าความสกปรกเพิ่มมากขึ้น เข้าเกณฑ์แหล่งน้ำประเภทที่ 3 ประเภทที่ 4 และประเภทที่ 5