17 พฤศจิกายน 2547

(1)  (2)

ตื่น 7.30 น. ปลุกตั้งแต่ 7.00 น. 2 เรือน แต่ก็ไม่ตื่นปวดไปทั้งตัวเพราะไปยกน้ำหนักและฟิตเนสเมื่อวาน ก็ยังทันอาหารเช้า วันนี้ไม่ลืมตะเกียบจะได้ทานง่าย เมื่อวานลืมเลยต้องใช้มือเปิบอาหารญี่ปุ่น เช้านี้ฟังการบรรยายเรื่องแนวทางการบำบัดน้ำเสีย และระบบโจกัสสึ คือระบบที่บ้านเราเรียกถังเกรอะ ที่มีการออกแบบต่างๆ หลายรูปแบบเพื่อเข้ากระบวนการบำบัดหลายๆ แบบก็หลายๆ ขั้นตอน

(3) (4) (5) (6) (7) (8)  (9) (10)  (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17)

ช่วงบ่ายเดินทางไกลไปชั่วโมงกว่า ถึงทะเลสาบคาซูมิ (Kasumikara Lake คำว่า Kara แปลว่าแม่น้ำ คือทะเลสาบที่มาจากแม่น้ำคาซูมิ ตั้งอยู่อีกเมืองไปเลย มีทะเลสายใหญ่ที่ต่อมามีเมืองไปตั้งอยู่ต้นทะเลสาบ ทำให้มีน้ำเสีย จนต้องตั้งโรงงานบำบัดน้ำเสีย (แบบจำลอง รูปที่ 5) เราขึ้นไปสำนักงานชั้นสอง ที่นี่ใช้งานเจ้าหน้าที่คุ้มมาก เพราะการดูแลแขกบ้านแขกเมือง ตั้ง 10 กว่าประเทศ ใช้ผู้หญิง (รูปที่ 3) เพียง 1 คนในการ ต้อนรับ บรรยาย เปิดปิดไฟ เปิดวิดิโอ ฉายสไลด์ เตรียมสถานที่ พาชมโรงงาน ฯลฯ เหมาหมดคนเดียวเก่งมาก มีการบรรยายสรุป ซึ่งเธอก็พูดภาษาอังกฤษไม่เป็น เราทั้งหลายก็ฟังญี่ปุ่นไม่รู้เรื่อง คุณนากาโนะ-ซัง (รูปที่ 4) ต้องมานั่งแปลเป็นอังกฤษให้เราฟัง หลังจากบรรยายสรุป พาไปดูห้องควบคุม (รูปที่ 6) ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์มีเจ้าหน้าที่เพียงกะละ 2-3 คน พาไปชมที่ดาดฟ้า ชี้ดูตึกต่างๆ ของระบบต่างๆ จากมุมสูง (รูปที่ 7-10) จากนั้นดูระบบเป็นจุดๆ ในอาคารต่างๆ ไปดูระบบบำบัดน้ำเสีย มีระบบเติมอากาศ ต่อไปยังบ่อบำบัดน้ำเสียอยู่ชั้นล่าง (รูปที่ 11) มีพื้นซีเมนต์ปิดไว้ และดูขั้นตอนต่างๆ ที่นี่ปัญหาอย่างหนึ่งคือการกำจัดไนโตรเจน โดยใช้ตัวกลาง (Media) คล้ายเม็ดพลาสติก (รูปที่ 14)ที่เขาช้อนมาให้ดู (รูปที่ 12-13) กระบวนการเกิดจากการใช้แบคทีเรีย และมีตัวกลางนี้เป็นที่จับอาศัยของแบคทีเรีย กระบวนการนี้ กลิ่นไม่รุนแรง เพราะใช้การทำงานแบบใช้ออกซิเจน ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการเติมคลอรีนแบบแกส (รูปที่ 15 ) ใช้เป็นถังคลอรีนสูงๆ อย่างนี้ เพื่อ จากนั้นเข้าบ่อพักก่อนให้คลอรีนทำงาน และสลายตัวระดับหนึ่ง จึงปล่อยออกไปทะเลสาบ มีผู้ชายคนหนึ่ง ตกปลาด้วยเบ็ดที่นี่ด้วย(รูปที่16) เราคุยกันว่าไม่รู้หน้าม้ารึเปล่า   แต่พอไปเห็นก็พบว่า น้ำใสกว่าทะเลสาบอย่างเห็นได้ชัด (รูปที่ 17) และฝูงปลาก็มาว่ายชื่นชมน้ำใหม่กันที่นี่ชุกชุมเลย ซึ่งก็ง่ายที่จะตกปลาไปกิน

(18) (19) (20) (21)

(22) (23) (24)

ต่อไปไปเยื่ยมชมระบบประปาของเมือง ประปาที่นี่ใช้น้ำจกทะเลสาบต้นน้ำ อยู่อีกด้านของระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นการทำประปาให้ได้คุณภาพแบบดีเยี่ยมชนิดดื่มได้ ผู้บรรยายเป็นเข้าหน้าที่ประปาที่นี่ ใช้เพียง 1 คน (รูปที่ 18) เช่นกับที่ดูงานก่อนนี้ ทั้งต้อนรับ ทั้งบรรยาย (ซึ่งคุณก็พูดได้แต่ญี่ปุ่นเช่นกัน คราวนี้คุณ อิซูกะ-ซัง แปลให้ฟังเป็นภาษาอังกฤษ) เปืดเครื่องเสียง เครื่องฉายวิดิโอเอง ปิดม่านก็ใช้ระบบไฟฟ้า ปิดพรึบ บรรยากาศพิศวงก็บังเกิด นี่นั่งเอนได้หลายคนก็เข้าสู่พวัง  ง่วงหงาวหาวนอนโดยอัตโนมัติ วิดิโอบรรยายเรื่องความเป็นมาและราวของระบบประปา พอเปิดไฟก็ตื่นกัน มีการสาธิตการทำน้ำประปาโดยการเติมสารเคมี(รูปที่ 19) มีพลาสติกทำแบบรังผึ้ง(รูปที่ 20) ช่วยในเพิ่มพื้นที่การดักจับแบคทีเรียและช่วยตกตะกอนได้เร็วขึ้น เขาบอกว่าเพิ่มพื้นที่ได้กว่า 2 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคล้ายกับระบบประปาของกรมทรัพยากรน้ำแบบพิเศษที่ใช้แก้ปัญหาเฉพาะบางแห่งโดยเราใช้ท่อพีวีซีมัดรวมกัน แต่ที่นี่เขาสั่งโรงงานพลาสติกทำมาทีละเยอะๆ  และเปลี่ยนทิ้งประมาณ 2-3 เดือน/ครั้ง  จากนั้นน้ำก็จะเข้ากระกรอง(รูป 21) ด้วยคาร์บอนกัมมันต์ (ถ่านจากกะลามะพร้าว-หรือไม้เนื้อแข็ง ผ่านกระบวนการก่อกัมมันต์ให้สามารถดักจับสารพิษ โลหะหนัก และสารไม่ต้องการได้ดี) ได้น้ำมาตรฐานน้ำดื่ม ในราคาลูกบาศก์เมตรละ 91.5 เยน แล้วเราก็ไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตน้ำ (รูปที่ 22-27)

(25) กลับมาถึงก็มืดแล้ว ยืมจักรยานของไจก้าไปซื้อของกับคุณ บุน-ซัง มีร้านมินิมาร์ท 2 ร้านใกล้ๆ ราว 1 กม. ไปซื้อขนามมากิน พวกสาหร่ายญี่ปุ่นกรอบ ของขบเคี้ยว (รูปที่ 25) หลังจากทานอาหารแล้ว พบว่ามีเสื้อผ้าหลายตัวควรซักได้แล้ว เลยออกไปซื้อผงซักฟอกร้านเดิมอีก มีบริการเครื่องอบผ้าดีวย แต่นานน่าดูกว่าจะเสร็จก็ 4 ทุ่มกว่า ก็มาจัดของลงกระเป๋า และรีดผ้า กว่าจะเสร็จก็เกือบเที่ยงคืน รีบนอน พรุ่งนี้พบกันที่โอซาก้า เมืองหลวงเก่าญี่ปุ่นที่สุดแสนจะสวยงาม ราตรีสวัสดิ์ครับวันนี้


[หน้าแรก] ญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายน วันที่ 13  14  15  16  17 18  19  20.1  20.2 ปราสาทนิโจ 20.3 21  22.1 22.2 23.1 23.2 24  25.1 25.2  26  27.1 27.2 28
เกาหลี เดือนพฤศจิกายน วันที่
 28 29 30 เดือนธันวาคม วันที่ 1 2.1  2.2 3 4.1 4.2 5.1 5.2 5.3  6 7 8.1  8.2 9.1 9.1  10ใหม่! 11ใหม่!