20 พฤศจิกายน 2547 (หน้าที่ 3)

(1) (2) (3) (4)(5) (6) (7) (8)

จุดที่ 3 นั่งรถทัวร์ไปอีกวัด เรียกวัดทอง  แวบแรกที่เห็น เราต่างอุทานว่า ว๊าว สวยจัง (จริงๆ แล้วสวยกว่านี้ รูปที่ 1) ไก้ด์ของเรา ซึ่งคล่องภาษาอังกฤษมาก แต่ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง เธอพูดสำเนียงญี่ปุ่น ต้องเงี่ยหูฟัง ต้องไปใกล้ๆ เธอบอกว่าช่วงนี้ เป็นช่วงที่สวยที่สุดของวัด เพราะเป็นช่วงที่ไม้ต่างๆ เปลี่ยนสีเป็นสีเหลือ แดง ม่วง และอากาศดีของเขา (ของเรา หนาวมาก)  ผ่านประตูเข้ามา(รูปที่ 2) ก็ได้บรรยากาศญี่ปุ่นๆ บางคนบอกว่าเป็นวัดที่ อิคคิวซัง เณรน้อยจอมอัจฉริยะในตำนานญี่ปุ่น เคยอยู่วัดนี้ เมเปิลสวยมาก (รูปที่ 3-5) เปลี่ยนเป็นเหลือง สีส้ม และสีม่วง เราชะเง้อชม ถ่ายรูปกันใหญ่เลย จาไก้ด์ต้องเร่ง เรามาเข้าแถวรอบัตรเข้าชมที่นี่ สาวๆ ญี่ปุ่น ก็มาชมกัน แอบถ่ายมาหลายรูป แต่มักไม่ค่อยได้มุมสวยๆ เห็นกล้องก็รีบหลบ เลยมีแค่รูปสาวผมสวยมาให้ดู (รูปที่ 6) ส่วนรูปอื่นๆ ไม่ค่อยชัด อิอิ... เอาไว้ดูเอง ไม้ไผ่ ยังเป็นไม้ที่ให้บรรยากาศญี่ปุ่นอยู่เสมอ (รูปที่ 7) เมเปิลที่นี่ ปลูมานาน บางต้นก็สมัยร้อยๆ ปีก่อน บางต้นก็ปลูกแซมที่หลัง (รูปที่ 8)

(9) (10) (11) (12) (13) (14)  (15) (16)

วัดนี้ชื่อว่าวัดทอง เพราะทาด้วยสีทองอร่ามไปทั้งหลัง ส่วนจะเป็นทองคำหรือไม่ ไม่มีใครกล้าพิสูจน์ เกรงว่าจะมีผลต่อความเชื่อของผู้มีจิตศรัทรา สวยอย่างนี้แหละครับ (รูปที่ 9) รูปนี้เดิมเป็นรูปใหญ่ที่สุดที่ผมถ่าย ต้นฉบับขนาด 12 ล้านพิกเซลเลย กะเอามาขยายเป็นโปสเตอร์ เพราสวยมาก รอบๆ เมเบิ้ลหลากสีสวยงามมาก (รูปที่ 10) มันเปลี่ยนสีไม่พร้อมกัน และไม่เหมือนกัน บางทีอาจเป็นคนละพันธ์ก็ได้ แล้วเราก็ถ่ายรูปเป็นหลักฐานว่าได้มาจริงๆ ต้องถ่ายใกล้ๆ แบบนี้ เพราะหลบคนลำบาก คนเยอะมาก แต่ก็ไม่อยากให้ติดคนอื่น พื้นตรงนี้ เขากั้นรั้วไม้ไผ่ไว้ พื้นเป็นมอส ก็คือตะไคร่น้ำพันธุ์หนึ่ง ที่เจอตรงที่ชุ่มชื้นมากๆ เวลาใบเมเปิลร่วงลงมาก็สะดุดตาสีสันตัดกันอย่างนี้ (รูปที่ 12-13) ด้านหน้าเป็นบึงพระอาทิตย์ จำลองเป็นจักรวาล(รูปที่ 14) เดินไปชมด้านข้างของอารามเป็นกุฏิเจ้าอาวาส (รูปที่ 15)  ซึ่งเดิม เป็นที่พำนักของท่านโชกุน เมื่อทำมาบำเพ็ญศิล ยังคงมีสวนญี่ปุ่น แบบเดิมๆ (รูปที่ 16) เพราะท่านโชกุนโปรดปรานการทำสวนเป็นอย่างยิ่ง ดูแลต้นไม้เอง และกวาดายกรวด ในสนามด้วยตนเอง

(17) (18) (19) (20)(21) (22)

เขามีทางเดินริมสระ ที่เบียดเสียดกันไป คนเยอะมาก แต่ก็ถ่ายรูปได้ตลอด มาดูด้านข้างของอารามอ้อมมาถึงด้านหลัง แต่เป็นทางเข้า อร่ามไปด้วยสีทองสุกปลั่งอย่างนี้(รูปที่ 17-20) ทางเดินมาถึงด้านหลังเป็นทางขึ้นภูเขาที่มีน้ำตกเล็กๆ บนเขามีอ่างเก็บน้ำหลายชั้น น้ำที่นี่จึงสมบูรณ์ทั้งปี บริเวณนี้เมเปิลสีเหลืองมากว่า บางต้นก็ยังเขียว บนภูเขาหลังอารามสีทอง เดินขึ้นไปเป็นวัด(โบสถ์) สำหรับบำเพ็ญศีล และไหว้พระอีกที่หนึ่ง มีรูป กล่องบริจาคให้ดู   (รูปที่ 23) ใหญ่ขนาดนี้แหละ ไกด์บอกว่าเขามีตะแกรง บางที่ก็เป็นโลหะ บางที่ก็เป็นไม้รูปสามเหลี่ยมปิดไว้ข้างบน เขาจะโยนเหรียญประมาณที่มีคนยืนอยู่ ราว 1.5 เมตร อธิษฐานก่อนโยน ถ้าได้ยินเสียง กริ๊ง! คือเหรียญกระทบตะแกรง สิ่งที่ปรารถนาจะเป็นความจริง ก็มีคนอธิษฐานกันหลายคนเลย เห็นใหญ่ขนาดนี้ ช่วงเทศกาลต้องใช้(เปลี่ยน) กล่องบริจาค ถึง 4-5 ใบ โหว อะไรจะอธิษฐานกันมากขนาดนั้น อธิษฐานเสร็จก็ไปจุดธุปเทียน ตรงที่เห็นกลางรูป แล้วก็ไปเคาะระฆัง (รูปที่ 24) ที่เห็นเป็นเชือกยาวๆ ถ้าอธิษฐานแล้วได้ยินเสียงเหรียญกระทบตะแกรง บนนี้มีจุดชมวิว แต่เข้าไปไม่ได้คนเยอะ และมีลานน้ำชา ร้านอาหาร และร้านขายของที่ระลึก ก็ไปซื้อวัดทองจำลอง เป็นคล้ายโมบายห้อยหน้ารถเป็นของที่ระลึกกัน บางคนก็ได้ที่ห้อยมือถือเป็นรุปดอกซากุระ ราคาประมาณชิ้นละ 400 เยนขึ้นไป (ประมาณ 180 บาทขึ้นไป) หมดเวลาก็ลงมาตามทางตรงออกมาอีกด้านของภูเขา ขาลงเดินง่ายเป็นบันได (รูปที่25) ก่อนออกจากวัด มีคนแต่งชุดโบราณรับจ้างถ่ายรูป ว่าจะถ่ายอยู่แต่คิวยาว เลยแอบถ่ายบรรยากาศมาให้ดูแค่นี้ (รูปที่ 26) โดยไม่เสียเงิน (อิอิ...)

(23) (24) (25) (26)

ขากลับนั่งบัสทัวร์คันเดิมผ่านโตเกียว ระหว่างทางให้ดูพื้นที่ที่คับแคบ คนส่วนใหญ่ไม่มีที่จอดรถในบ้าน หรือหน้าร้านค้า กิจการทำที่จอดรถเลยเพื่องนิยม แต่เนื่องจากที่มีน้อย ก็ทำ หลายๆ ชั้นอย่างนี้ (รูปที่ 27) ขนาดจักรยานต้องจอดเสียเงิน ส่วนรถยนต์ (รูปที่ 29) ต้องจอดโดยหยอดเหรียญคิดเป็นนาที หรือชั่วโมง มาทีหลังก็ต้องจอดชั้นล่าง ผ่านวังจักรพรรดิ ก็ถ่ายรูปประตูไม้มาให้ดูน่ารักดี เราไม่ได้แวะดูเพราะทรงอยู่ที่วังช่วงนี้ รถทัวร์ไปส่งที่ศูนย์หัตถกรรม นานมากกว่า 2 ชั่วโมง จนเบี่อ ศูนย์นี้มีพวกอัญมณี ตูกตา ของที่ระลึกต่างๆ หลายชั้น และชั้นบนเป็นภัตตาคาร เขาคงอยากให้เราซื้อ แต่แพงมากๆๆ ซื้อไม่ลงกัน เย็นๆ  ก็มีรถแทกซี่มารับโดยไจก้าจ่ายให้ ไปรับสัมภาระที่โรงแรม แล้วกลับบสึคูบะโดยทางรถหัวกระสุน (ชินคังเซ็น) คันนี้ (รูปที่ 30) ขึ้นที่สถานีโตเกียว (รูปที่ 31) ให้ดูราคาตั๋วโดยสาร 16,820 เยน ก็ประมาณ 5,000 บาท แพงกว่าตั๋วเครื่องบินเชียงใหม่-กรุงเทพฯ เสียอีก ทั้งที่ระยะทางใกล้กว่า แต่เราก็แค่ โอ้โหว! ก็เราไม่ได้จ่ายเองนี่นา ภายในรถไฟอีกที คล้ายเครื่องบิน สวยดี สะอาด และกว้าง  ถ่ายรูปนี้(รูปที่ 33) เพราะ บุน-ซัง ขอให้ถ่ายให้ คนยิ้มกว้างๆ นั่นแหละ ไม่รู้ได้รับรูปรึยัง ยังไม่ตอบอีเมล์เลย ส่วนพี่คนนี้ (รูปที่ 34) บอกว่า ขอถ่ายกะไตรรงค์หน่อย จากมองโกเลีย เป็น Director of the National Environment Department เลยวานให้ จาง-ซัน (ถ้าจำไม่ผิด) ถ่ายให้ ก็กำลังทานอาหารเย็น ตอนนี้ราว 16.00 น. เป็นเบนโตะ(อาหารกล่อง)มื้อเที่ยงที่ซื้อจากสถานีโตเกียว บนรถสาธารณะทุกแห่งเขาอนุญาตให้ทานได้ เพื่อลดความเร่งรีบของผู้โดยสาร จะเห็นว่ามีโต๊ะพับบริการให้ด้วย

(27) (28) (29) (30)(31) (32) (33) (34)

ถึงสึคูบะราว 2 ทุ่ม ทุกคนก็รีบไปทานอาหารฟรี (มื้อเย็นปกติ) ที่โรงอาหาร ชั้นสอง พักสักหน่อยก็ขึ้นไปก๊อปปี้รูปที่ถ่ายลงซีดี เพื่อจะได้ใช้ความจำของกล้องวันต่อไป วันนี้ยืมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คได้ตามคิวที่จอง เลยเอาซีดีมาดูภาพที่ห้อง สวยมากเลย อย่างที่เห็น บางภาพ เหนื่อยครับวันนี้ นอนก่อนครับ

(วันนี้ แบ่งเป็น 3 หน้า เพื่อไม่ให้การดูรูปช้าเกินไป)


[หน้าแรก] ญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายน วันที่ 13  14  15  16  17 18  19  20.1  20.2 ปราสาทนิโจ 20.3 21  22.1 22.2 23.1 23.2 24  25.1 25.2  26  27.1 27.2 28
เกาหลี เดือนพฤศจิกายน วันที่
 28 29 30 เดือนธันวาคม วันที่ 1 2.1  2.2 3 4.1 4.2 5.1 5.2 5.3  6 7 8.1  8.2 9.1 9.1  10ใหม่! 11ใหม่!