20 พฤศจิกายน 2547 (หน้าที่ 1)

ตื่นตั้งแต่ 6 โมงเช้า อาบน้ำแต่งตัวก็ 6.30 น. บุน-ซัง โทรมาชวนไปซื้ออาหารกล่อง (เบนโตะ) หาร้านเดิมที่ซื้อวันก่อนๆ ก็ไม่เจอ อาจจะยังไม่เปิด หรือหลงทาง เพราะมันก็กว้างขวางเอาการอยู่ มีร้านที่เปิดขายแต่เช้า ก็ซื้อมาก่อน และซื้อขนมขบเคี้ยวอีก เผื่อมีปัญหาเรื่องเวลา รีบเช็คเอ้าท์จากโรงแรม เสร็จภารกิจที่นี่แล้ว วันนี้เราจะไปทัวร์เกียวโต(เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น) กัน ก็เหมือนที่คาดไว้ ไม่มีที่เหมาะจะนั่งกิน เพราะเป็นโรงแรม กะจะไปกินบนรถไฟ คุณ อิซูกะ-ซัง บอกว่า ให้ตามธงไป มีธงเสือน้อยอยู่ในมือ(รูปที่ 1) เพราะคนเยอะ ง่ายที่จะหลง ระวังด้วย คนญี่ปุ่นที่ไม่เกี่ยว ก็ชอบเดินตามธง ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วย มายืนรอรถไฟ แต่ไปไม่ได้สักที(รูปที่ 2) เดี๋ยวก็ไปซื้ออาหารเช้า เดี๋ยวก็ไปห้องน้ำ

(1) (2) (3)

 เราไปรอไก้ด์ ที่โรงแรมกลางเมืองเกียวโต (รูปที่ 3) เพื่อรอกลุ่มด้วย กลุ่มเราเป็นพวกที่ได้รับทุนไจก้า สาขาโตเกียว จากประเทศทางยุโรป และกลุ่มผิวดำ มาทัวร์รวมกัน อิซูกะ-ซัง ก็ไปพักผ่อน มอบหน้าที่ให้ไก้ด์ เธอบอกว่า อาจจะหลงได้ จำหน้าสวยๆ เธอไว้ให้ดี อาจจะจำยากหน่อย(รูปที่ 4) ผมว่า หน้าอย่างนี้ จำได้ง่ายมาก เรานั่งรถทัวร์ ไปจุดต่างๆ ในเมือง พอลงที่แรก ก็บอกว่า ตามธงเธอไป(รูปที่ 5) เพราะบางทีอยู่ในกลุ่มอาจมองไม่เห็นเธอ ธงของไก้ด์นี่เขาดีไซน์น่ารักดี ต่างๆ กันไปแต่ละกลุ่ม

 (4) (5) (6) (7) (7) (8) (9) (10)

วัดแรก วัดนี้ชื่อวัด Higachi-Hongagi เป็นวันทางตะวันออกของเมือง สร้างเมื่อ 1,200 ปี ก่อน (เก่าแก่กว่ายุคทวาราวดี หรือก่อนกรุงสุโขทัย 400 ปี) ตัววัดทำด้วยไม้ สูงประมาณ 25 เมตร คือประมาณ ตึก 10 ชั้น ทางเข้าเป็นไม้ใหญ่ (รูปที่ 6) กว้างประมาณ 3 คนโอบ สลักสเลาลายสวยงามมาก อาคารหลัก กำลังซ่อม (รูปที่ 7) การซ่อมที่นี่ประณีตมากทำโครงสร้างเหล็กโดยรอบแข็งแรงขนาดนี้ เพื่อเข้าไปซ่อมรายละเอียด ที่นี่ยังเป็นที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของวัยรุ่นญี่ปุ่นด้วย (รูปที่ 7) ก่อนเข้าชมเราต่องรอไกด์จัดการตั๋วตรงหน้าวัด (รูปที่ 8) ธรรมเนียมญี่ปุ่นก่อนเข้าไหว้พระในวัด ต้องล้างมือล้างเท้าก่อนให้สะอาดก่อน ก็คล้ายกับบ้านเรา แต่ที่นี่มีการตกแต่งที่ดูประณีตขึ้น เป็นรูปมังกรพ่นน้ำ ผมก็เลยชักชวนพรรคพวก แต่ก็ไม่ยอมมากัน เลยบอกว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ถึงมาล้างกัน ก่อนเข้าอารามอามิตพุทธ (อมิตา - Ameda) (รูปที่ 10 ) ไม่น่าเชื่อว่า อารามอายุ 1,200 ปี ยังคงสภาพดีขนาดนี้ เป็นคล้ายโบสถ์ ซึ่งปิด จะเปิดเวลาทำพิธี เลยเข้าชมอาคารใกล้กัน(รูปที่ 11) คืออาคารที่ข้างนอกเป็นโครางเหล็ก (รูปที่ 7) พื้นเป็นเสื่อ ตาตามิ ทำมาจากกกญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง เขาปูเสื่อเพราะกลิ่นหอม ให้บรรยากาศที่สดชื่น และเป็นฉนวนกันความหนาวเย็นทำให้อบอุ่นในหน้าหนาว และกันความร้อนทำให้เย็นสบายในหน้าร้อน เสื่อนี้ มีขนาดมาตรฐาน กว้าง 1.2 เมตร ยาว 2 เมตร มาตรฐานนี้ ยังเป็นตัวกำหนดขนาดห้องในบ้านด้วย โดยระบุขนาดห้องตามขนาดเสื่อ เช่น ห้องขนาด 6 เสื่อ คือห้องที่ปูเสื่อมาตรฐานนี้ 6 ผืนพอดี โคมข้างบนเพดาลเป็นแบบเดิม บุด้วยกระดาษจุดเทียน หรือตะเดียง แต่ขณะนี้ปรับเป็นไฟฟ้าแล้ว ห้องพิธีนี้นี้กว้างขนาดจุได้ 300 คน ซึ่งสมัยนั้น นับว่ากว้างมาก ส่วนด้านหน้า (รูปที่ 12) มีพระพุทธรูปหลังฉาก ซึ่งจะเปิดเฉพาะเวลามีพิธีการ เช่นกัน ข้างๆ นี้ มีเลื่อนไม้ขนาดใหญ่ (รูปที่ 13) ใช้สำหรับเลื่อนไม้ใหญ่ หรือขานาดเสา เป็นวิธีการขนย้ายไม้ในฤดูหนาว ผ่านหิมะ การเลื่อน ใช้เชือกขนาดใหญ่อย่างนี้ (รูปที่ 14) ทำมาจากเส้นผม ยุคนั้นจะมีการไว้ผมยาว เพื่อตัดมาบริจาคทำเชือกขนย้ายไม้มาทำวัด นับว่าได้บุญแรง การใช้เส้นผม ทำให้ไม่ลื่น เส้นผมยังนุ่มนวลไม่บาดมือ และเป็นฉนวนไม่ให้มือที่ลากเลื่อนหนาวเย็นเกินไปด้วย  

(11) (12) (13) (14)

ออกมาทางระเบียงวัดอารามอมิดา สถาปัตยกรรมพันปีก่อนทำได้ขนาดนี้ (รูปที่ 15-16) รอบๆ อาคารหลักยังมีอาคารรองที่สวยงามอีก (รูปที่ 17) ส่วนป้ายโตๆ นี้ (รูปที่ 18) แปลาว่าห้ามสูบบุหรี่ แต่อยากให้ดูแปะก๊วยที่เปลี่ยนสี ดูสวยงามดี หอระฆังนี่ก็สมัยหลัง(รูปที่ 19) แต่ก็หลายร้อยปี จากนั้นก็มารออบู่ด้านหน้า วัดก็คล้ายวัดไทยที่มีนกพิราบเต็มไปหมด เพราะคนมาวัดอยากบริจาคทาน นกก็ทำตัวน่ารักมารับทาน (รูปที่ 20-22)

 (15) (16) (17) (18)(19) (20) (21) (22)

(วันนี้ แบ่งเป็น 4 หน้า เพื่อไม่ให้การดูรูปช้าเกินไป)


[หน้าแรก] ญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายน วันที่ 13  14  15  16  17 18  19  20.1  20.2 ปราสาทนิโจ 20.3 21  22.1 22.2 23.1 23.2 24  25.1 25.2  26  27.1 27.2 28
เกาหลี เดือนพฤศจิกายน วันที่
 28 29 30 เดือนธันวาคม วันที่ 1 2.1  2.2 3 4.1 4.2 5.1 5.2 5.3  6 7 8.1  8.2 9.1 9.1  10ใหม่! 11ใหม่!