24 พฤศจิกายน 2547

วันนี้ตื่นแต่เช้าสำหรับผม เพราะแดดแยงตา ปรากฏว่านอนหันหัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ พอเช้าแดดเข้าตาพอดีเพราะเปิดม่านไว้ แปลกดีที่ตะวันมันขึ้น ตอน 6 โมงกว่า แต่ตก 16 น. เวลาไม่สมมาตรกันช่วงเช้าเย็น

(1) (2) (3)
กินข้าวกันแบบบุฟเฟ่ต์ของโรงแรม มีบัตรอาหารเช้า กินอาหารเช้าแบบญี่ปุ่น เป็นข้าวกับซุป ปลาดิบ ของทอด อะไรพวกนี้  ชอบภาพนี้มาก แสงเงาและบรรยากาศดูอบอุ่นดี (รูปที่ 1) อากาศข้างนอกเย็น แต่ยังไม่ถึงเวลาออกไปเรียน เลยมีเวลาออกมาดูน้องๆ ไปโรงเรียนกัน ถึงจะเย็นมาก (บ้านเราเรียกว่าหนาวจัด) แต่ก็นิยมใส่กันอย่างนี้ (รูปที่ 2) ดูเธอสนุกสนานกันดีแม้อากาศจะหนาวมาก รูปนี้จะว่าแอบถ่ายก็ได้ เพราะซูมภาพจากที่ไกลๆ ให้ดูรูปเดียวนะครับ ที่เหลือขอดูเอง อิอิ อ้าว แหม
! วันหลังจะให้ดูเพิ่มอีก รับปาก ก็... จากนั้น ผมก็เดินดูใกล้ๆ โรงแรม ที่นี่เขาจัดการแสดงรูปปั้น เป็นระยะๆ (รูปที่ 3) อย่างรูปนี้ ไม่รู้ใครปั้น เพราะไม่รู้ไปถามใคร แต่ก็น่ารักดี เหมือนอนุสาวรีย์ แต่ใกล้ชิดถึงผลงานดี ลูบคลำได้ และไม่ใหญ่โตมาก ถ่ายรูปนิดหน่อยก็หนาวมาก ก็ไปหิ้วกระเป๋าออกมาเช็คเอ้าท์ เดินทางด้วยรถของไจก้า ไปมหาวิทยาลัยเทคโนโยลีนากาโอกะ เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งบนลูกคลื่นลอนลาด (ภูเขาที่เป็นเนินไม่สูงมาก) มองลงไปเห็นหมู่บ้าน เมืองนากาโอกะ ข่างล่าง (รูปที่ 4) แล้วเราก็พากันลงรถ ให้ดูรถครับ(รูปที่ 5) คันใหญ่ๆ ก็ดี อาจารย์ก็มาพร้อมกันเลย ที่นี่กว้างดี อาคารส่วนใหญ่เป็นแบบยุโรป เพื่อประโยชน์ใช้สอยได้เยอะ(รูปที่ 6-7)

(4) (5) (6) (7)

อาจารย์ ฮาราดะ สอนเช้านี้ (รูปที่ 8) เป็นดอกเตอร์ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ที่เป็นที่ยอมรับนับถือมาก บรรยายเรื่อง Anaerobic Treatment of Sewage and oversea operation และวิธีบำบัดน้ำเสียของหลายๆ ประเทศมาเทียบกัน การทำให้ได้น้ำที่สะอาดกว่าวิธีอื่นอีกหลายวิธี เช่น การใช้ฟองน้ำธรรมดาที่ใช้กันทั่วไป มาบำบัดน้ำเสีย บรรยากาศในห้องเรียนเป็นอย่างนี้ (รูปที่ 9) อาจารย์เดินคุยกับทุกคนไปทั่วห้อง ต้องหมุนเก้าอี้ไปมาจนเมื่อยคอ วันนี้เป็นวันดีอีกวันที่มีเบรคกาแฟ ซึ่งนับเป็นวันพิเศษ ปกติเขาไม่มีกัน ดูสีหน้า เต๋า-ซัง จากเวียดนาม มีความสุขที่ได้จิบกาแฟ หลังเบรค

(8) (9) (10)

อาจารย์ฮาราดะเอาภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวานมาให้ดู ต้องขออภัยที่ไม่ชัดเจนเท่าไหร่ เพราะถ่ายจากแอลซีดีโปรเจ็คเตอร์ เป็นภาพที่ถ่ายที่ห้องอาจารย์ (รูปที่ 11-12) เป็นรูปที่ถังแกสหล่นลงมาทุบซิ้งค์น้ำจนแตก และภายในสำนักงาน (รูปที่ 12) ที่ของหล่นลงมาเพราะตู้ชิดผนังล้มลงมา อาจารย์ยืนยันว่าปกติไม่เป็นอย่างนี้ แล้วก็มีรูปโต๊ะโล่งๆ มาให้ดูด้วย จากนั้นเป็นภาพระหว่างทางที่ไปที่ทำงาน บ้านพังอย่างนี้ (รูปที่13) เสาไฟฟ้าล้มจนไม่มีไฟฟ้าใช้  ภาพถนนที่ทรุดตัว (รูปที่ 14-15) แยกตัวและไถลไปข้างทาง ภาพนี้ (รูปที่ 16) รูปลูกสาวอาจารย์ น่ารักดี เอ๊ย! ไม่ใช่ ให้ดูว่ามีการทรุดตัวของดินจนเห็นได้ชัดว่าท่อโผล่สูงขึ้นมา ส่วนรูปสุดท้าย (รูปที่ 17) แสดงการทรุดตัวของดินรอบๆ อาคารที่ทำงาน ซึ่งวัดระดับได้ประมาณ 1 ฟุต กว่า

(11) (12) (13) (14) (15)  (16) (17)

ทานกลางวันที่แคนทีน หรือโรงอาหาร คือร้านอาหารในมหาวิทยาลัย ไจก้าจ่ายให้ ได้มีโอกาสคุยกับคุณ ซากิโมโต้-ซัง (ชื่อเท่ดี) ซึ่งเป็นโปรแกรมเมนเนเจอร์ หรือผู้จัดการโครงการ หรือหัวหน้าโครงการ (รูปที่ 18) ไม่ได้คุยสาระมากมายส่วนมากก็เป็นเรื่องอาหาร ดูสิ เขาทานกันขนาดนี้ (รูปที่ 19) แต่ก็ผมทานหมดนะ (อิอิ)

 (18) (19)

ช่วงกลางวันบ่าย ไปดูสถานที่จริงของของสถานที่ทดสอบการวิจัยการใช้ฟองน้ำมาบำบัดน้ำเสีย เป็นอาคารที่ต้องขุดลงไป 5 ชั้นเพื่อจำลองสถานการณ์ใต้ดิน ต้องสร้างใหญ่ขนาดนี้ (รูปที่ 20) ใช้ฟองน้ำตัดเป็นรูป 3 เหลี่ยมต่อกันยาวๆ อย่างนี้ (รูปที่ 20) สลับกัน มีแกนเป็นแผ่นพลาสติก ติดสลับกัน เอามาเรียงกันให้ฟองน้ำสลับเกยกันแต่ไม่ชิดกัน แล้วปล่อยน้ำลงมาตากด้านบน เพื่อให้มีการเกิดช่องให้น้ำผ่าน น้ำที่บำบัดจะผ่านการหมักแบบไม่ใช้อากาศ 6 ชั่วโมง กรอง 2 ชั่วโมง น้ำที่ได้ สูงกว่ามาตรฐาน ค่าใช้จ่ายในการดูแลน้อย กลิ่นไม่แรง ยอมรับได้ เราลงไปแออัดกันอย่างนี้ (รูปที่ 22) ทั้งอบอ้าว ทั้งร้อน และเหม็น แต่วิทยากรก็ตื่นเต้น พยายามอธิบายเยอะแยะ คนฟังก็อยากฟัง ถามโน่นถามนี่เยอะ และยังมีการทำการสาธิตให้ดูอีก (ที่รูป 23)

(20) (21) (22) (23)

เราออกมาจากที่ดูงาน 14.20 น. ต้องรีบ เพราะต้องเดินทางไปอีก 4 ชั่วโมง ระหว่างทางผ่านภูเขาสูงๆ (รูปที่ 24) รูปนี้เป็นที่พักรถที่เราเข้าห้องน้ำและหาอะไรใส่ท้องช่วงเบรคด้วย ถัดไปทางภูเขา ผมเห็นท่อน้ำที่มีผู้คนเดินทางมาเอาน้ำตรงนี้บรรจุขวดไปทานกันเยอะ (รูปที่ 25) เลยถ่ายมาให้ดู เป็นน้ำแร่จากธารธรรมชาติที่มีตาน้ำไม่ไกล คุณภาพน้ำดื่มได้อย่างสะอาดปลอดภัย มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วย ชิมดูแล้วเย็นชื่นใจดี

(24) (25)

มาถึงโรงแรมที่พัก ประมาณ 18.30 น. เช็คอินเสร็จสัก 1 ทุ่ม ก็ออกไปหาอะไรทานกัน ก็ไปทานอาหารจีน กับ นากาโนะ-ซัง ซึ่งเป็นผู้ประสานงานโครงการ (Coordinator) รวบรวมกันมาได้ 5 คน คือสาวจีน 2 คน บุน-ซัง ผม และ นากาโนะ-ซัง เราสั่ง อูด้ง มาทาน (รูปที่ 26)  แปลกใจไหมครับ อูด้ง บ้านเรานับเป็นอาหารญี่ปุ่น แต่ที่ญี่ปุ่น เป็นอาหารจีน แปลว่า หมี่จีน ถ้าเรียกให้ถูกก็คล้าย ก๋วยเตี๋ยวบ้านเรา แต่แน่นอน ไม่เหมือนกัน เส้นกลมๆ ปรุงด้วยน้ำแกงคนละอย่าง มี hot pepper (พริกญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง จำชื่อไม่ได้ แต่คุณนากาโนะแปลเป็นอังกฤษว่าอย่างนี้) และซอสเป็นเครื่องปรุง ก็สั่งคล้ายๆ กัน เวลาทานต้องตักจากชามใหญ่ลงชามเล็กและซดเอา  ด้วยตะเกียบ ซึ่งคุณนากาโนะ เป็นห่วงเรื่องตะเกียบ เราบอกสบายมาก เราใช้ประจำ เพราะก๋วยเตี๋ยว และบะหมี่ (เช่น มาม่า ไง) เป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งรองมาจากข้าวของเรา ส่วนคุณนากาโนะโปรดปรานกะทะร้อน นี่ร้อนจริงๆ คือเอาเตาแกสเล็กมาตั้งเลย (รูปที่ 27) แล้วทานแบบสุกี้บ้านเรา คือลวกผักลวกเนื้อทีละอย่างตามชอบสักพักคุณอิซุมิ-ซัง ก็ตามมาเจอ หลังจากส่งพวกที่เหลือจากกลุ่มผมไปหาของกิน ที่ไม่ถูกใจแล้วเลยมาหาร้านที่ถูกใจ เธอมาที่นี่เพราะมีเบียร์บริการด้วย บอกอยากินเบียร์มาก ติดเบียร์ ขออนุญาตดื่มสักแก้วก็ยังดี และก็ทานพวกซุป คล้ายข้าวต้มบ้านเรา เป็นอาหารเย็น

(26) (27)

ก่อนกลับไปพักผ่อนในโรงแรม คุณ อิซูกะ-ซัง นากาโนะ-ซัง พาไปดูร้านสะดวกซื้อที่สามารถซื้อข้าวกล่อง (เบนโตะ) ไปทานได้ เป็นร้านคล้ายโลตัสเอกซเพรสบ้านเรา แต่เน้นอาหารเสียครึ่งหนึ่ง ผมพบว่า ที่นี่ (และร้านสะดวกซื้อทั่วไป) ของสดมาจากไทยเยอะ เช่น ปลาหมึก กุ้งเทมปุระ มาจากไทยแน่ กล้วยมาจากฟิลิปปินส์เกือบ 100% พวกเราหลายคนก็ยังเลือกซื้อของกิน ของใช้ ผมได้ไอศกรีมมาห่อหนึ่งแบบแซนวิช ถึงจะหนาว แต่อยากชิม เอามากินบนห้อง จืดชืดมาก  ไม่เหมือนไอศกรีมบ้านเราเลย ก่อนขึ้นไปพักผ่อน ที่ลอบบี้มีบริการอินเทอร์เน็ตให้ใช้บริการฟรี เลยเช็คอีเมล์ได้ แต่ไม่มีใครตอบกลับมาเลย เป็นธรรมดาที่คนไทยไม่นิยมตอบอีเมล์ หลังจากแช่น้ำอุ่นจัดๆ ก็ออกมาแพ็คกระเป๋าเตรียมตัวให้พร้อมกลับสึคูบะพรุ่งนี้


[หน้าแรก] ญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายน วันที่ 13  14  15  16  17 18  19  20.1  20.2 ปราสาทนิโจ 20.3 21  22.1 22.2 23.1 23.2 24  25.1 25.2  26  27.1 27.2 28
เกาหลี เดือนพฤศจิกายน วันที่
 28 29 30 เดือนธันวาคม วันที่ 1 2.1  2.2 3 4.1 4.2 5.1 5.2 5.3  6 7 8.1  8.2 9.1 9.1  10ใหม่! 11ใหม่!